kongloeichimun

กรมชลประทานได้ศึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategy Environmental Assessment : SEA) โครงการบริหารจัดการน้ำโขง เลย ชี มูล โดยแรงโน้มถ่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ควรมีการปรับปรุงปากน้ำเลย ขุดลอกคลองชักน้ำ เจาะอุโมงค์ผันน้ำและสร้างคลองส่งน้ำที่ทำหน้าที่ส่งน้ำชลประทานและดักน้ำหลาก ซึ่งสามารถส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรเกือบทั้งหมดในลุ่มน้ำโขง ชี มูล เป็นพื้นที่ชลประทานประมาณ 30.64 ล้านไร่

ในการศึกษาครั้งนี้จะเน้นที่รูปแบบการพัฒนาในระยะที่ 1 โดยศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมของการพัฒนา พิจารณาด้านงบประมาณ ความคุ้มทุน การกระจายการพัฒนา ปัญหาความเดือดร้อน ความจำเป็นเร่งด่วน และศึกษาชลศาสตร์การไหลของอุโมงค์ผันน้ำในระยะที่ 1 ด้วยแบบจำลองชลศาสตร์แบบ 3 มิติ และแบบจำลองทางกายภาพ (Physical Model) ตามโครงสร้างของระบบผันน้ำ เริ่มต้นตั้งแต่แม่น้ำโขงที่ปากน้ำเลย การปรับปรุงปากแม่น้ำเลย การขุดคลองชักน้ำ และอุโมงค์ผันน้ำจนสิ้นสุดที่ทางออกอุโมงค์

ที่ตั้งโครงการ :

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้ว่าจ้าง :

กรมชลประทาน

ลักษณะงาน :

งานพัฒนาแหล่งน้ำโดยการผันน้ำจากแม่น้ำโขงผ่านอุโมงค์ผันน้ำและคลองส่งน้ำโดยแรงโน้มถ่วง

ประเภทของงาน :

การศึกษาความเหมาะสมเพิ่มเติม

ขอบเขตของงาน :

เพื่อศึกษารูปแบบและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาโครงการ โดยเป็นการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อขยายผลจากการศึกษาความเหมาะสมเดิมในปี พ.ศ.2555 ดังนี้

  1. ศึกษารูปแบบการพัฒนาของภาพรวมการพัฒนาโครงการเต็มศักยภาพ โดยศึกษาเพิ่มเติมจากการศึกษาความเหมาะสมเดิม (2555) ในรายละเอียดที่สำคัญ
  2. ศึกษาผลกระทบในแม่น้ำโขงจากการพัฒนาโครงการ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพชลศาสตร์การไหลของแม่น้ำโขง จัดทำเอกสารเพื่อเตรียมดำเนินการตามขั้นตอนในข้อตกลงการใช้น้ำอย่างยั่งยืนของประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ปี พ.ศ. 2538
  3. ศึกษารูปแบบการพัฒนาโครงการระยะที่ 1 ที่เหมาะสม โดยเฉพาะในประเด็นสำคัญในการเตรียมความพร้อม เช่น การศึกษาพฤติกรรมและชลศาสตร์การไหลจากปากน้ำเลยผ่านอุโมงค์ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้งทั้งโดยแบบจำลองคณิตศาสตร์ต่างๆ และแบบจำลองกายภาพ การศึกษาแนวทางบริหารจัดการงานก่อสร้างอุโมงค์ แนวทางบริหารจัดการน้ำของการผันน้ำโขงและน้ำเลย แนวทางการอพยพและการชดเชยทรัพย์สิน เป็นต้น
  4. ศึกษารูปแบบการลงทุน หรือการร่วมลงทุน พร้อมทั้งจัดทำแผนการลงทุนที่เหมาะสมเพื่อประกอบการจัดหางบประมาณก่อสร้าง ของการพัฒนาโครงการเต็มศักยภาพและแผนการพัฒนาโครงการระยะที่ 1
  5. การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน

ระยะเวลาปฏิบัติงาน : 

ตุลาคม 2558 สิ้นสุดสัญญา ธันวาคม 2559

บริษัทร่วมดำเนินงาน :

  • บริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด
  • บริษัท เอส เอน ที คอนซัลแตนท์ จำกัด

มูลค่าโครงการ :

2.7 ล้านล้านบาท

ค่าจ้างที่ปรึกษา :

49,986,758.79 บาท